วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558
ไส้คอลลาเจน อีกตัวเลือกหนึ่ง ของไส้ทดแทน
ไส้คอลลาเจน อีกตัวเลือกหนึ่ง ของไส้ทดแทน ผลของการหมักต่อคุณภาพและการยอมรับของ ไส้กรอกจากเนื้อโคพื้นเมืองไทย ที่หมักในไส้สดและ ไส้คอลลาเจน วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 29:3 เล่ม 2 (18 27) Effect of Fermentation on Quality and ไส้คอลลาเจน จึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของไส้ที่จะใช้ทดแทน
Acceptance of Isan Sausage from Thai Native Beef Stuffed in Hog Intestine and Collagen Casing. จากการศึกษาผลของการหมัก ไส้กรอกอีสาน ที่ผลิตจาก เนื้อโค พื้นเมืองไทย หมักในไส้หมู และ ไส้คอลลาเจน โดยสภาวะ
การหมักแบบสด (นําตัวอย่างทั้งสองไส้บรรจุในถุงพลาสติก) ปิดสนิทปล่อยให้เกิดการหมักที่อุณหภูมิ 30องศา (เป็นเวลา 2 วัน) และสภาวะการหมักแบบกึ่งแห้ง (นําตัวอย่างทั้ง 2 ไส้หมักที่อุณหภูมิ 30 องศา ความชื้นสัมพัทธ์ 65% เป็น (เวลา 2 วัน) สภาวะการหมักและชนิดไส้ที่บรรจุแตกต่างกันโดยแยกเป็น ไส้หมูสภาวะการหมักแบบสด ไส้หมู สภาวะการ หมักแบบกึ่งแห้ง ไส้คอลลาเจน สภาวะการหมักแบบสดและ ไส้คอลลาเจน
สภาวะการหมักแบบกึ่งแห้ง ทําการศึกษาเปรียบเทียบการเจริญของแบคทีเรียแลกติก สมบัติด้านเคมีบางประการ และการทดสอบความชอบของผู้บริโภคด้าน ประสาทสัมผัส พบว่าปริมาณแบคทีเรียแลกติก ในไส้กรอกอีสานทั้ง 4 ตัวอย่างมีปริมาณเพิ่มขึ้น จากประมาณ 4-5 log cfu/g เป็น 7-8 log cfu/g หลังจากการหมัก 2 วัน และเชื้อมีปริมาณคงที่ในช่วงการเก็บรักษาในตู้เย็น (อุณหภูมิ 4-7 องศา) เป็นเวลา 10 วัน สมบัติด้านเคมีที่ศึกษาคือ ค่า Water activity (Aw) และค่าความชื้นของ ไส้กรอกอีสานพบว่า ไส้หมูและไส้คอลลาเจน ที่มีสภาวะการหมักแบบสดมีแนวโน้มค่า Aw และค่าความชื้นสูงกว่าไส้หมู และ ไส้คอลลาเจน ในสภาวะการหมักแบบกึ่งแห้ง หลังจาก 2 วันของการหมักอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) โดย Aw ลดลงจาก 0.968-0.969 เป็น 0.966-0.967 ในการหมักแบบสด และลดลง 0.959-0.961 ในการหมักแบบกึ่งแห้ง และในช่วง 10 วันที่เก็บรักษาในตู้เย็น ค่า Aw ของตัวอย่างที่หมักแบบสด ยังอยู่ที่ช่วง 0.967 ในขณะที่ตัวอย่างที่หมักแบบกึ่งแห้ง เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย จากการเปรียบเทียบทางด้านสถิติ ปัจจัยเรื่องไส้บรรจุ ไม่มีอิทธิพลต่อคุณภาพด้านต่างๆของ ไส้กรอกหมัก สําหรับความชอบ ของผู้บริโภคไส้กรอกที่หมักครบ 2 วันแล้วทําการปิ้ง พบว่าทั้งสี่ตัวอย่าง ไม่มีความแตกต่างทางสถิติโดยผู้ชิม มีแนวโน้ม ให้คะแนนความชอบด้าน ลักษณะปรากฏ สีรสชาติเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมเฉลี่ยไส้หมู แบบกึ่งแห้งมากที่สุด แต่คุณสมบัติด้านกลิ่น ผู้ชิม ให้คะแนนความชอบ ไส้กรอกหมัก ไส้คอลลาเจน แบบกึ่งแห้งมากที่สุด นอกจากนี้ เมื่อทําการทดสอบ ความชอบทางด้านประสาทสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ที่ทําการศึกษาทั้งหมดกับผู้ผลิต พบว่า ผู้ผลิตให้คะแนนความชอบในด้านต่างๆ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน ดังนั้นไส้คอลลาเจน อีกตัวเลือกหนึ่ง ของไส้ทดแทน